วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระเพทราชา

สมเด็จพระเพทราชา

สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยาและทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-พ.ศ. 2246

พระราชประวัติ

พระเพทราชาเดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) เป็นบุตรของพระนมเปรม และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) 
พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงและเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย
ในปี พ.ศ. 2231 ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ที่ลพบุรีและประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปสำเร็จโทษ และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในปัจจุบัน
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2232เมื่อมีพระชนมายุได้ 56 พรรษา
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา
สมเด็จพระเพทราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2246 พระชนมายุได้ 71 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี

พระราชกรณียกิจ

การปฏิรูปการปกครอง

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหมโดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ
นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย

งานต่างประเทศ

ประเทศใกล้เคียง มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมา ในปี พ.ศ. 2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 พระมหากษัตริย์ไทยผู้สถาปนาราชวงศ์สุโขทัยสมัยอาณาจักรอยุธยา

พระราชประวัติ

ก่อนครองราชย์

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า มีพระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ส่วนพระราชมารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระไชยราชาธิราชสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2057 ต่อมาได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิเรนทรเทพ ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจขวา
เมื่อขุนวรวงศาธิราชและนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์สมคบกันสำเร็จโทษพระยอดฟ้าพระราชโอรสของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เองแล้ว ขุนพิเรนทรเทพได้ร่วมกับ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา (ในราชการ) และหลวงศรียศ ปรึกษากันว่าแผ่นดินเป็นทุรยศ ควรจับขุนวรวงศาธิราชไปประหารชีวิตเสีย แล้วให้พระเทียรราชาซึ่งทรงผนวชอยู่วัดราชประดิษฐานเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเทียรราชา กราบทูลแผนการให้ทรงทราบ ก็ทรงเห็นด้วย ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ เห็นว่าควรเสี่ยงเทียนว่า พระเทียรราชามีพระบารมีมากกว่าสมเด็จพระวรวงศาธิราชเจ้าหรือไม่ ขุนพิเรนทรเทพไม่เห็นชอบ แต่พระเทียรราชาทรงเห็นด้วย ค่ำวันนั้นทั้งหมดจึงไปยังพระอุโบสถวัดป่าแก้วเพื่อทำพิธีเสี่ยงทา
เมื่อจุดเทียนแล้วปรากฏว่าเทียนของขุนวรวงศาธิราชยาวกว่า ขุนพิเรนทรเทพจึงโกรธว่าห้ามแล้ว ยังขืนทำอีก แล้วคายชานหมากทิ้ง บังเอิญไปถูกเทียนขุนวรวงศาธิราชดับลง ทั้ง 5 คนจึงยินดีอย่างยิ่ง ขณะนั้นมีพระภิกษุลึกลับเข้ามาในอุโบสถ ให้พรว่าที่ปรารถนานั้นจะสำเร็จแน่ ออกจากอุโบสถก็หายตัวไป
ต่อมากรมการเมืองลพบุรีแจ้งราชสำนักว่าพบช้างมงคล (ช้างเผือก) ในเช้าตรู่วันต่อมาขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชโอรส กับพระศรีสิน จึงทรงเสด็จทางชลมาส พระราชดำเนินไปทางคลองสระบัว เพื่อไปทรงคล้องช้างเผือก ขุนพิเรนทรเทพกับพวกได้จัดกองเรือออกสกัด เข้าจับขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชโอรส ฆ่าเสียทั้งหมด เอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง เว้นชีวิตไว้แต่พระศรีสิน
แล้วเข้ายึดพระราชวัง ให้ส่งเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ไปรับพระเทียรราชาซึ่งลาสิกขาบทแล้วมาราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ครองกรุงศรีอยุธยาแทน
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงตั้งขุนพิเรนทรเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ครองเมืองพิษณุโลก ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดาเป็นพระวิสุทธิกษัตรีย์ ให้เป็นพระอัครมเหสี และพระราชทานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค มีอำนาจตั้งตำแหน่งบรรดาศักดิ์ฝ่ายทหารพลเรือนในเมืองพิษณุโลก และเรือชัยพื้นดำพื้นแดงคู่หนึ่ง[1] เมื่อประทับ ณ เมืองพิษณุโลกนั้น พระวิสุทธิกษัตรีย์ได้มีประสูติกาลพระราชโอรสธิดาตามลำดับคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
ถึงปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเห็นว่าครั้งนี้ทัพหงสาวดีมากจนเหลือกำลังจะต้านทานได้ ในวันอาทิตย์ แรม 5 ค่ำ เดือน 2 จึงทรงยอมแพ้ พระเจ้าบุเรงนองจึงรับสั่งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาจัดทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาร่วมกับพระองค์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็จัดพล 30,000 ไปกับทัพพระเจ้าบุเรงนอง จนกระทั่งเสียกรุงในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองจึงถอดสมเด็จพระมหินทราธิราชจากราชสมบัติ แล้วราชาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าให้ครองกรุงศรีอยุธยาแทน มีราชทินนามว่า สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญวงศ์กุรสุริโคดม บรมราชาธิราชราเมศ ปริเวทธรรมิกราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรเทพสมมติราชบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว[

หลังครองราชย์

ในรัชสมัยของพระองค์ สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก) ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาถึง 2 ครั้ง แต่ทรงป้องกันพระนครไว้ได้ และได้โปรดให้ขุดขยายคูเมืองด้านตะวันออกของเกาะเมืองให้กว้างขึ้น สร้างป้อมมหาชัย และสร้างพระราชวังจันทรเกษมให้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช (สมเด็จพระนเรศวร)
สมเด็จพระมหาธรรมราชาประชวรและเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2133 สิริพระชนมายุ 76 พรรษา ครองราชย์ได้ 22 ปี

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย
หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์องค์ก่อนแล้ว พระศรีศิลป์หรือพระพิมลธรรม หรือพระเจ้าทรงธรรมก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ

พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระนามเดิมว่าพระอินทราชา (แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าพระนามเดิมคือพระศรีสิน) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถกับพระสนมชาวบางปะอิน มีพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เดิมบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดระฆัง มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมอนันตปรีชา มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้งจหมื่นศรีสรรักษ์ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย
ในแผ่นดินของพระศรีเสาวภาคย์ จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับพระศรีเสาวภาคย์นำไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 (พ.ศ. 2154) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็นพระมหาอุปราช
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ พระเชษฐากุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และพระอาทิตยวงศ์ ส่วนจดหมายเหตุวันวลิตระบุว่า พระองค์มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์
ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราชจนกว่าจะได้ครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราย์ได้ 17 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้

พระราชกรณียกิจ


ด้านพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาพุทธในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรีจึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

พระองค์ทรงมีสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ. 2115 พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยะมะดะ นะงะมะซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข

ด้านราชการสงคราม

เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตกในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ. 2165 ต่อมากัมพูชาและแคว้นเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระเชษฐาธิราช

สมเด็จพระเชษฐาธิราช

สมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเอกาทศรถ มีพระอนุชา 2 พระองค์ ได้แก่ พระพันปีศรีศิลป์ และ พระอาทิตยวงศ์
เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคตได้เกิดการชิงราชสมบัติระหว่างพระองค์กับพระพันปีศรีศิลป์ (จดหมายเหตุวันวลิต กล่าวว่า พระศรีศิลป์เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม) ฝ่ายพระองค์มีออกญาศรีวรวงศ์กับออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ นางามาซะ) เป็นกำลังสำคัญได้จับพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชสำเร็จโทษ แล้วกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราช ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมพรรษาได้ 15 พรรษา ออกญาศรีวรวงศ์ ได้เลื่อนฐานะเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้หนึ่งปี แปดเดือน ก็คิดเกรงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จะคิดแย่งราชสมบัติ จึงทรงหาทางกำจัดเสีย แต่ความนี้ได้รู้ไปถึงเจ้าพระยากลาโหมเสียก่อนก็ขัดเคือง จึงได้ยกกำลังบุกเข้าไปในวังหลวง พระองค์ไม่ได้คิดต่อสู้แต่หลบหนีไป เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงสั่งให้พระยาเดโชและพระยาท้ายน้ำตามไปทันที่ป่าโมกน้อยแล้วจับสมเด็จพระเชษฐาธิราชมาได้ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงสั่งให้นำพระองค์ไปสำเร็จโทษเสีย เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ทูลเชิญพระอาทิตยวงศ์พระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อไป

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระนามเดิม พระเทียรราชา) พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 15 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีบุญญาธิการมากเพราะทรงมีช้างเผือกในครอบครองถึง 7 ช้าง จนได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก ในรัชกาลนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากคราวขุนวรวงศาธิราช สภาพบ้านเมืองไม่ได้สงบสุขเท่าที่ควร มีเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะสงครามกับอาณาจักรตองอู

พระราชประวัติ


สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จพระราชสมภพเมื่อพ.ศ. 2048 พระนามเดิมคือ พระเทียรราชา มีพระฐานันดรศักดิ์เป็น พระเยาวราช สันนิษฐานว่าเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 อันประสูติจากสนม และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระไชยราชาธิราช
ด้านชีวิตครอบครัว ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระสุริโยทัย และมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 5 พระองค์คือ พระราเมศวร พระมหินทร์ พระสวัสดิราช พระบรมดิลก และพระเทพกษัตรี นอกจากนี้ยังอาจจะมีพระสนมอีก เพราะปรากฏพระนามพระศรีเสาวราช พระแก้วฟ้า เป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ด้วยในชั้นหลัง
ในรัชสมัยพระยอดฟ้า พระเทียรราชาทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคู่กันกับนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ต่อมาเพื่อหลบหลีกคความกดดันจากพระนาง จึงได้เสด็จออกผนวช ณ วัดราชประดิษฐาน
เมื่อ พ.ศ. 2091 ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจขวาและคณะได้กำจัดขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระเทียรราชา ให้ลาผนวชและขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงแต่งตั้งขุนนางผู้มีความดีความชอบหลายคน
  • ขุนพิเรนทรเทพ สถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกแล้วพระราชทานพระสวัสดิราช รั้งตำแหน่งพระวิสุทธิกษัตรีย์ ให้เป็นพระอัครมเหสี
  • ขุนอินทรเทพ แต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช
  • หลวงศรียศบ้านลานตาดฟ้า แต่งตั้งเป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดี ที่สมุหพระกลาโหม
  • หมื่นราชเสน่หา แต่งตั้งเป็น เจ้าพระยามหาเทพ
  • หมื่นราชเสน่หานอกราชการ แต่งตั้งเป็นพระยาภักดีนุชิต
  • พระยาพิชัย แต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาพิชัย
  • พระยาสวรรคโลก แต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาสวรรคโลก
  • พระราชกรณีกิจที่สำคัญ


  • ในระหว่างปี พ.ศ. 2092 - พ.ศ. 2106 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม ยุทธศาสตร์ในการป้องกันคือ ใช้พระนครเป็นที่มั่น
    • เมื่อพ.ศ. 2092 ทรงให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยาก่ออิฐถือปูนตามแบบฝรั่งเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ถมดินเป็นเชิงเทินแล้วปักเสาไม้ระเนียดด้านบน
    • โปรดให้รื้อกำแพงเมืองหน้าด่านชั้นนอกออก 3 เมืองคือ สุพรรณบุรี ลพบุรี และนครนายก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น
    • โปรดให้ขุดคลองมหานาคเป็นคูเมืองออกไปถึงชายทุ่งภูเขาทอง คาดว่าเริ่มขุดตั้งแต่ศึกพระสุริโยทัยขาดคอช้างแต่เพิ่งมาเสร็จ
    • โปรดให้สำรวจบัญชีสำมะโนครัวใหม่ ตามหัวเมืองชั้นในทุกหัวเมือง ทำให้ทราบจำนวนชายฉกรรจ์ที่สามารถทำการรบได้
    • ทรงตั้งเมืองใหม่ขึ้น 3 เมือง เพื่อให้เป็นที่รวมพลและง่ายต่อการเกณฑ์เข้าพระนคร
    • พ.ศ. 2095 โปรดให้แปลงเรือแซ (เรือยาวตีกรรเชียง ใช้คนพาย ประมาณ 20 คน) เป็นเรือชัย (เรือที่มีปืนใหญ่ยิงได้ที่หัวเรือ) และหัวสัตว์ คือการพัฒนาเรือรบนั่นเอง ซึ่งก็คือเรือที่ใช้ในพระราชพิธีปัจจุบัน
    • โปรดให้จับช้างเข้ามาใช้ในราชการ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก อีกพระนามหนึ่ง
    พ.ศ. 2106 สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีพระราชประสงค์เป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา จึงส่งทูตมาขอพระเทพกษัตรี พระราชธิดาพระองค์เล็กไปเป็นพระชายา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงรับไมตรีแต่ตอนนั้นพระเทพกษัตรีทรงพระประชวร พระองค์จึงส่งพระแก้วฟ้าพระธิดาที่เกิดจากสนมรัตนมณีเนตรไปถวายแทน
    เมื่อพระไชยเชษฐาทรงทราบว่าไม่ใช่พระเทพกษัตรีจึงถวายพระแก้วฟ้าคืนใน พ.ศ. 2107 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงส่งพระเทพกษัตรีย์ไปยังล้านช้างแต่พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเข้าจึงส่งทหารไปชิงตัวพระเทพกษัตรีมา
    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบก็ทรงเสียพระทัย จึงเสด็จไปประทับที่วังหลัง ให้พระมหินทร์พระโอรสว่าราชการแทน เมื่อพระชนมายุประมาณ 59 พรรษา ต่อมาได้เสด็จออกผนวชใน พ.ศ. 2109โดยมีข้าราชการออกบวชด้วยจำนวนมาก
    พระมหินทร์ ทรงได้ว่าราชการแทนในช่วงหนึ่ง ต่อมาทรงมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกับพระมหาธรรมราชา จนเกิดความร้าวฉานระหว่างพิษณุโลกกับกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากพระองค์สมคบพระไชยเชษฐาไปตีเมืองพิษณุโลก จนพระองค์มิอาจรั้งราชการแผ่นดินจึงทูลเชิญให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวชหลังจากที่ผนวชได้ไม่นาน แล้วกลับมาว่าราชการตามเดิม
    พระองค์กับพระมหินทร์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีแล้วนำพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระเอกาทศรถมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับหงสาวดีอย่างเปิดเผย
    เมื่อ พ.ศ. 2111 ระหว่างสงครามกับอาณาจักรหงสาวดี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระประชวรหนักประมาณ 25 วัน และเสด็จสวรรคตในขณะที่ทัพหงสาวดีปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ รวมพระชนมายุ 64 พรรษา ครองสิริราชสมบัติได้ 20 ปี
  • ราชการสงคราม


  • ศึกพระสุริโยทัยขาดคอช้าง


  • ในปี พ.ศ. 2091 หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้เป็นที่กระฉ่อนไปทั่ว จนทราบไปยังพระกรรณพระเจ้าหงสาวดีพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าทรงพระราชดำริว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังกรุงศรีอยุธยา จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี(บางพงศาวดารบอกว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้เสด็จมาทอดพระเนตรกำแพงเมืองอยุธยาก่อนหน้านี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เพื่อประเมินกำลังศึก) โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง ทัพพระมหาอุปราชาบุเรงนองตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ์
    ในวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร
    ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำปืนใหญ่นารายณ์สังหาร ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่ายพม่าล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบ จึงปรึกษากับแม่ทัพนายกองจะยกทัพกลับ แม่ทัพทั้งหลายเห็นควรจะยกทัพกลับทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) แต่พระเจ้าตเบ็งชเวตี้เห็นว่าทางที่ยกมานั้น ทรงทำลายเสบียงอาหารเสียหมดแล้ว ถ้ายกไปทางนี้จะประสบปัญหาขาดแคลน และจะถูกทหารไทยยกมาซ้ำเติมลำบากอยู่ จึงทรงให้ยกทัพขึ้นไปทางด่านแม่ละเมา (ตาก) เพื่อตีทัพของพระมหาธรรมราชาด้วยไพร่พลนั้นน้อยนัก และจะได้แย่งเสบียงมา เมื่อปะทะกับกองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึงเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพกรุงศรีอยุธยาถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือกคือ พลายศรีมงคลกับพลายมงคลทวีป จากนั้นกองทัพม่าก็ถอยกลับไปยังหงสาวดี
    ส่วนการพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยนั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ สวนหลวง และให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงเป็นพระอารามเพื่ออุทิศ พระราชกุศลพระราชทาน แด่สมเด็จพระอัครมเหสี ประกอบด้วยพระเจดีย์ พระวิหาร แล้วพระราชทานนามพระอารามอันเป็นพระราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระสุริโยทัยแห่งนี้ว่า วัดสบสวรรค์ ในปัจจุบันชื่อ วัดสวนหลวงสบสวรรค์
  • สงครามกับเขมร

  • พ.ศ. 2099 ในเดือน 12 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้แต่งทัพไปตีเมืองละแวก พระยาองค์ (โอง) สวรรคโลก (เชื่อว่าเป็นคนเดียวกับพระยาสวรรคโลกที่กำจัดขุนวรวงศาธิราช) เป็นทัพหลวง ยกทัพ 30,000 ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ให้พระยาเยาวเป็นแม่ทัพเรือ แต่ลมพัดไม่เป็นใจทัพเรือจึงตามทัพบกไม่ทัน พระยารามลักษณ์แม่ทัพบกได้เข้าตีเขมรในตอนกลางคืน แต่เสียทีถอยหนีมาถึงทัพใหญ่ ในศึกนี้เสียพระยาองค์ (โอง) สวรรคโลกกับไพร่พลอีกจำนวนมาก

    สงครามช้างเผือก

    ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเตรียมตัวป้องกันพระนคร โดยคาดว่าพม่าจะยกกำลังมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้ ครั้นลงมาถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าก็ได้ปะทะกับกองทัพกรุงศรีอยุธยาของพระราเมศวร แต่ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาต้านทานไม่ได้ต้องถอยกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎรได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดหน้าพระเมรุ กับวัดหัสดาวาส ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือก 4 ช้าง พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามให้แก่พม่า โดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของอยุธยาทั้งหมดที่พระเจ้าบุเรงนองยึดไว้คืน พระเจ้าบุเรงนองก็ถวายคืนแต่โดยดี จากนั้นพม่าก็ถอยกลับไปหงสาวดี
  • พระเจ้าบุเรงนอง ผู้ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดีต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือกสองช้าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เหตุผลเชิงปฏิเสธเพราะทรงเห็นด้วยกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงคราม พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2106 ด้วยกำลังพลสองแสนคน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร 400 คน เป็นทหารปืนใหญ่ ให้เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เปลี่ยนเส้นทางเดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยมาตามลำดับเพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยา

  • สงครามเสียกรุง

  • ใน พ.ศ. 2111 พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพโดยมีทัพเมืองพิษณุโลกอยู่ด้วย มีกำลังห้าแสนคน เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซี่งเป็นด้านที่คูเมืองแคบสุด และใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อกับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ

    ความไม่สงบภายใน

  • กบฏพระศรีศิลป์

    จนถึง พ.ศ. 2104 พระศรีศิลป์มีอายุครบ 20 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ (พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ กล่าวว่าตอนนั้นบวชอยูที่วัดมหาธาตุ แต่พระศรีศิลป์หนีไปซุ่มพลอยู่ตำบลม่วงมดแดง จึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีไปตาม
    ฝ่ายพระศรีศิลป์จึงยกกองทัพมาก่อกบฏ เข้ากรุงศรีอยุธยามาในวันพฤหัสบดี แรม 14 ค่ำ เดือน 8 วันรุ่งขึ้นพระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ครั้งนั้นได้ แต่พระศรีศิลป์ถูกปืนยิงตายในพระราชวัง ผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อการทั้งหมดถูกนำไปประหารชีวิตเหตุการณ์จึงเข้าสู่ภาวะปกติ
  • ประมาณ พ.ศ. 2098 พระศรีศิลป์ พระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์มีอายุได้ 14 ปี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้บวชเป็นสามเณรอยูที่วัดราชประดิษฐานแต่พระศรีศิลป์กลับวางแผนก่อกบฏและถูกจับได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงไม่ประหารแต่ให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมิกราช

  • กบฏปัตตานี

  • หลังสงครามช้างเผือก มุซาฟาร์ ชาฮฺ สุลต่านแห่งปัตตานี ยกทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพปัตตานีมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปรากฏว่ากองทัพพม่าได้ล่าถอยออกไปแล้ว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺได้นำกองทัพชาวมลายูเข้าไปพักในกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่พักอยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้นได้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกองทัพมลายูปัตตานีกับกองทัพกรุงศรีอยุธยาเรื่องกินหมู จึงได้เกิดการสู้รบกันขึ้น สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺ นำกองทัพเข้ายึดพระราชวังได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงต้องเสด็จหนีไปที่เกาะมหาพราหมณ์แล้วจึงรวบรวมกำลังเข้าตีตอบโต้ กองทัพปัตตานีต้องถอยร่นออกมาถึงปากอ่าว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺ สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับพระศพถูกฝังไว้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากอ่าว